พระเศรษฐีนวโกฎิ
  • ขนาด:

                พระนี้มีชื่อว่า "พระนวเศรษฐี" เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบันเพราะการสร้างโดยอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร อย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ซึ่งอ้างอิงตำราของวัดมณีชลขัณฑ์ จังหวัดลพบุรี เชื่อว่าที่มาของตำรา พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท) ได้มาจากล้านช้าง ปัจจุบันนิยมเรียกว่า พระเศรษฐีนวโกฏิ มีอายุคาถาเกินกว่าร้อยปีขึ้นไป มิใช่ตำราแต่งใหม่ พระอาจารย์ในจังหวัดลพบุรีสร้างกันหลายท่าน โดยเฉพาะในสายวัดนิกายธรรมยุติ และตัวบทพระคาถาแพร่หลายอยู่ในประเทศลาว รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในภาคกลางสวดพระคาถาบทนี้ในงานสำคัญบางงาน แต่แทรกอยู่ในบทใหญ่ ไม่ได้แยกออกเป็นบทพิเศษ

    เดิมในสมัยพุทธกาล เศรษฐีเป็นตำแหน่งที่ราชาเจ้าแคว้น พระราชทานให้แก่ผู้มีทรัพย์ เป็นพ่อค้าวานิชที่มีผลต่อเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของท้องพระคลัง แต่ในพระคาถามุ่งหวังเพียงกล่าวนามท่านผู้ใจบุญกลุ่มหนึ่ง ซึ่งบริจาคทานอย่างมโหฬาร เพื่อหวังอ้างอานิสงค์แห่งการเสียสละของท่านเหล่านั้น ให้ส่งผลต่อผู้บูชา บุคคลเหล่านั้น มีชื่อว่า

    ธนัญชัย

    ๑ ยะสะ   ๒  สุมะนะ    ๓ ชะฏิละ     ๔ อนาถปิณฑิกะ      ๕ เมณฑะกะ      ๖ โชติกะ      ๗ สุมังคะละ      ๘ มัณฑาตุ      ๙ เวสสันตร

                รวมเป็น 10 ท่าน ในบางฉบับ มี 11 ท่าน เว้นแต่จะใช้ มัณฑาตุ เป็นโคตรของพระเวสสันดร จะได้ 9 ท่าน และในบทคาถานี้ ไม่มีนาง วิสาขามหาอุบาสิกา อย่างที่บางคนต้องการบิดเบือน (ไม่มีชื่อในคาถานี้) ทำให้มีการคัดลอกผิดๆ มาตลอดหลายปี ผู้รู้ได้ถือเอาคตินี้มาสร้างเป็นพระนวเศรษฐี ให้มีพระพักตร์ทั้งหมด 9 พระพักตร์ แทนคุณของผู้บำเพ็ญทานในอดีต โดยรับอิทธิพลรูปแบบของพุทธมหายาน ทำให้มีหลายพระพักตร์

  • จำนวนรูปภาพ 1 รูป